เศียรพระฤาษีตาไฟ R-525

฿359.00

🙋️ : #ปู่ฤาษีตาไฟชนะมาร #พ่อแก่ตาไฟ #ปู่ฤาษี108 #ปู่ฤาษีปรามมาร
🕉️ : เศียรปู่ฤาษีตาไฟ ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักปราช มีวิชาความรู้แตกฉานในเรื่องยาสมุนไพร สามารถรักษาผู้คนได้ รวมไปถึงความมีอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์เหนือธรรมชาติ ในรูปแบบที่ปุถุชนไม่สามารถเข้าถึง ปู่ฤาษีได้ชื่อว่าเป็นผู้มีอำนาจพิเศษ ซึ่งชอบอาศัยอยู่ตามป่าเขา ฝึกฝนจิตอย่างยิ่งยวด เพื่อเข้าถึงฌาณสมาบัติ อันละเอียดจนจิตมีความเข้มแข็ง สามารถใช้เป็นฐานในการสร้างฤทธิ์ต่างๆ
🕉️ : เศียรปู่ฤาษีตาไฟ
💯วัสดุ : เรซิ่น
ขนาด :  สูง 14 ซม. ฐานกว้าง 4.5×4.5 ซม.
น้ำหนัก 0.1 กิโล.
ทำสี : ปิดทอง
📌ติดต่อสอบถาม
📱Line id : narunchara2553 หรือไลน์@: @wcf6266l
📱เบอร์ไลน์: 0626292649
Tel : 0945365142 ,0864644251

สนใจสินค้าสินค้า โทร. 094-536-5142 หรือ LINE ID: NARUNCHARA2553

รายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียดเพิ่มเติม

พระฤาษีตาไฟ นั้นมักปรากฏเป็นพระฤาษี ที่มีสามตา โดยมีตาที่สามกลางหน้าผาก ตามตำนานกล่าวไว้ว่าตาที่สามของพระฤาษีตาไฟนี้ลืมขึ้นมาเมื่อใดจะบังเกิดเป็นไฟประลัยกัลป์ขึ้น เมื่อนั้น ลักษณะของตาที่สามของพระฤาษีตาไฟนี้ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีบุญและมีตบะฌานที่แก่กล้า ตามคติทางพราหณ์และพุทธนั้นกล่าวว่าบุคคลที่ได้บำเพ็ญเพียรทางจิตมาหลายร้อย หลายพันชาติ เป็นอนันตชาตินั้น เมื่อบังเกิดขึ้นมาในภพชาติปัจจุบันจะมีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นผู้ที่มี บุญเกิดขึ้นกับร่างกายหลายอย่าง และอย่างหนึ่งก็คือการมีอุณาโลมที่กลางหน้าผาก อุณาโลมกลางหน้าผากนี้กับภาวะตาที่สามเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน เพราะถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งตาที่สามหรือดวงตาแห่งเทพเจ้า
พระอิศวรหรือพระศิวะถือว่าเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่ง ตามตำนานกล่าวว่าพระองค์ทรงมีสามตา โดยตาที่สามพระองค์นั้นอยู่กลางหน้าผากดุจเดียวกับพระฤาษีตาไฟ และเหมือนกันอีกประการหนึ่ง ก็คือ เมื่อใดก็ตามที่พระอิศวรทรงลืมพระเนตรขึ้น เมื่อนั้นย่อมบังเกิด ไฟประลัยกัลป์ขึ้นมา ความเหมือนกันโดยบังเอิญของตำนานพระอิศวรและพระฤาษีตาไฟ ที่พ้องกันเช่นนี้ทำให้เชื่อว่าท่านทั้งสองคือพระฤาษีตาไฟและพระอิศวรย่อมมี ความเกี่ยวพันไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งและพอเชื่อได้ว่าพระฤาษีตาไฟแท้จริงแล้ว ก็คือภาคหนึ่งของพระศิวะหรือพระอิศวรเจ้านั้นเอง

 

คาถาฤาษีตาไฟ

ตั้งนะโม ๓ จบ ระลึกถึงพระฤาษีตาไฟ

อัคคิจักขุ จิปิเสคิ อัคคิจักขุ ปิเสคิจิ
อัคคิจักขุ เสคิจิปิ อัคคิจักขุ คิจิปิเส