คำอธิบาย
พระอวโลกิเตศวร ประเทศอินเดีย
พบหลักฐานการสร้างรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหลายพระกร ราวพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นยุครุ่งเรืองของพุทธศาสนานิกายตันตระ อันเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน โดยมีความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนตร์ คาถา พิธีกรรมบูชาสักการะพระโพธิสัตว์ต่างๆ
ชาวจีนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิมเป็นเทพเจ้าตามความเชื่อในนิกายมหายาน และเชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีเมตตาต่อมวลมนุษย์ สมัยราชวงศ์ฮั่น และซ่ง สร้างรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมตามแบบอินเดีย ไม่มีเพศ ต่อมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน พบหลักฐานการสร้างรูปปั้นพระโพธิสัตว์เป็นสตรีเพื่อความอ่อนโยน แสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับที่มารดาแสดงต่อบุตร คาดว่าเป็นการออกแบบจากผู้อพยพจากอินเดียมาอยู่ในประเทศจีน เพื่อแสดงออกถึงการระลึกถึงบ้านเกิดที่ห่างไกล รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในรูปแบบเพศหญิง เป็นที่เคารพยอมรับของชาวจีนอย่างกว้างขวาง
พระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นโพธิสัตว์ฝ่ายพระ พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีชาวพุทธนับถือมากที่สุด เพราะทรงมีพระเมตตากรุณาโปรดสัตว์ทั่วไตรภูมิ ให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง กลับใจคนชั่วให้กลายเป็นคนดี เมื่อพระองค์จะเสด็จไปโปรดสัตว์ พระองค์จะแปลงกายให้ผู้พบเห็นยำเกรง ถ้าโปรดยักษ์มาร พระจะแปลงองค์มีมือมากมาย โปรดกษัตริย์ก็จะแปลงเป็นกษัตริย์ ถ้าโปรดอิสตรี พระองค์จะแปลงร่างให้งดงามกว่าหญิงทั้งปวง เหตุที่พระองค์ต้องปฏิบัติเช่นนี้เพราะต้องการลดทิฐิของผู้มีอำนาจง่ายต่อการสั่งสอนธรร
บทสวดเจ้าแม่กวนอิม ต้นฉบับ (บทสรรเสริญพระคุณ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียงห่วยอุ่ยติ้ง
นำโมม่อออปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก
บทสวดเจ้าแม่กวนอิม ธิเบต (บทสวดมนต์มหากรุณาธารณีสูตร)
นำโม รัตนา ตายายะ นะโม อาริยะ จานะ
สักการา เปลอ จานะ ยูฮารา จายา
ตะทากาคะยา อะรา ฮาเต ซำ ยา ซำ พุทธายะ
นะโม สวา ตะถาคะเตเป อะรา ฮาตะเป
ซำ ยา ซำ พุทเธเป
นะโม อะริยะ อวโลกิเต สวารายา
พูทีสัตตะวายะ มหาสัตตะวายะ มหาการุณีตะยะ
ตะติยา ทา โอม ธารา ธารา ธีรี ธีรี ธูรู ธูรู
อิทธิเว อิทธิ จาเร จาเร ปูราจาเร ปูราจาเร
กุสุเม กุสุมา วาเร อิทธิ มิตรี จิตติ
จาลามะ ปานะ ยะ โชวฮา